
“แต่งงาน” จะรู้ได้อย่างไรว่า เราควรแต่งงานกันได้แล้ว
หนุ่มสาวส่วนใหญ่หรือหลายๆคู่ คงเคยคิดไว้ว่าอยากจะมีงานแต่งงานเป็นของตัวเอง หวังว่าวันนึงจะมีใครซักคนที่คิดเหมือนกันกับเรา แล้วตกลงแต่งงานกัน มีเพื่อนฝูงมากมายมาร่วมยินดีในงานแต่งงาน คิดธีมงาน แจกการ์ด เลือกของชำร่วย ได้โยนช่อดอกไม้ให้เพื่อนๆแย่งกัน นั่นคือสิ่งที่หนุ่มสาวใฝ่ฝัน แต่ก็คงไม่ได้เป็นอย่างที่คิดเสมอไป เพราะหลายคู่เมื่อคบกัน เป็นแฟนกันไปซักระยะ ก็จะเริ่มมีคำถามขึ้นในใจว่า ควรแต่งงานกันได้แล้วหรือยัง และในทันใดนั้น ไม่ฝ่ายใดก็ฝ่ายหนึ่งหรือทั้งคู่ ก็จะรู้สึกสับสนและลังเล โดยคิดถึงความพร้อมในด้านต่างๆวุ่นวายไปหมด ทั้งๆกำลังคบกันอย่างมีความสุข รักกันมากมายซะเหลือเกิน แต่สุดท้ายก็ยังไม่ได้แต่งกันซักที จนบางคู่ต้องเลิกรากันไปในที่สุด ทำไมถึงเป็นแบบนั้น
หากจะพูดกันแบบกลางๆ โดยที่ไม่ได้เข้าข้างฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง ก็สามารถแบ่งความลังเลและสับสนที่เกิดขึ้นกับคู่รักที่กำลังคิดจะแต่งงาน เป็นหัวข้อง่ายๆได้ดังนี้
- ฐานะทางการเงิน เรื่องแรกๆที่มักเกิดขึ้นมาในสมองของคู่รักที่กำลังคิดเรื่องแต่งงาน หนีไม่พ้นเรื่องเงิน ความจริงก็คือจะเริ่มมีความรู้สึกเกี่ยวกับความพร้อมในด้านการเงินของตัวเองและของคู่ที่จะแต่งงานด้วย บางคนคิดไปถึงการมีบ้าน มีรถ มีหน้าที่การงานที่มั่นคง บางคนคิดถึงค่าใช้จ่ายในการจัดงาน ไหนจะค่าชุด ค่าสถานที่ ค่าอาหาร ของชำร่วย ค่าออแกนไนท์ และอีกมากมาย มันไม่ใช่ง่ายเลยนะ จะแต่งงานกับใครซักคนเนี่ย นี่ยังไม่รวมค่าสินสอด ที่อาจจะต้องไปปรึกษาพ่อแม่อีก อืม… เราพร้อมรึยังน๊า คิดๆๆๆ
- ชีวิตส่วนตัวที่กำลังจะเปลี่ยนไป เรื่องนี้ถ้าคิดให้ดีมันก็จริงนะ เรื่องที่ว่า การที่คนสองคนแต่งงานกันกำลังจะไปอยู่ด้วยกันจริงๆ ชีวิตประจำวันก็คงต้องเปลี่ยนไปจากเดิม บางคนคิดไปเองก่อนเลยว่า ต่อไปนี้คงจะไปเที่ยวกับเพื่อนๆตามใจฉันไม่ได้แล้วสินะ ออกเที่ยวกลางคืนนี่หมดสิทธิ์แน่ๆ (โดยเฉพาะฝ่ายหญิง) ไปเที่ยวไหนก็ต้องไปกันสองคน จะไปต่างจังหวัดกับเพื่อนๆก็คงต้องพาสามีหรือภรรยาของตัวไปด้วย นี่ขนาดแค่ตัวอย่างแรกนะ โอ้โห…เรื่องมันเยอะ แค่คิดก็เครียดละ
- ข้อผูกมัดทางสังคม มันคืออะไร? มันก็คือคำนำหน้าและชีวิตที่เปลี่ยนไป รวมถึงการรับรู้ของผู้คน เพื่อนๆ ญาติมิตร เพื่อนร่วมงาน ถ้าหากว่าในอนาคตต้องเลิกกันล่ะ จะทำยังไง จะอายเค้าไม๊ ต้องมานั่งไล่ลบรูปในเฟสบุ๊คอีก นี่แค่คิดเล่นๆ ยังไม่ได้ตกลงใจแต่งกันซะหน่อย แต่ถ้าเป็นอย่างนั้นคงแย่แน่ๆเลย
- ครอบครัวของทั้งสองฝ่าย นี่ก็อีกเรื่อง ตอนที่พากันไปหาพ่อแม่พี่น้องของเค้า พวกเค้าก็โอเคนะ รู้สึกว่าได้รับการต้อนรับอย่างดี แต่ก็อดกังวลไม่ได้ ว่าจริงๆลับหลังแล้วเค้าคิดยังไง คิดต่อไปถึงเรื่องของฐานะทางครอบครัว ถ้าหากมันแตกต่างกันมากจนเกินไป เค้าจะรับเราได้ไม๊ อาจคิดมากไปถึงการนับถือศาสนา หรือถ้าหากแต่งแล้วจะไปอยู่บ้านใคร หรือถ้าซื้อบ้านอยู่เอง ครอบครัวของเค้าจะคิดยังไง และอื่นๆอีกมากมาย คิดเยอะไปไม๊เรา มันไม่ง่ายเลยจริงๆ แต่งงานเนี่ย!
- ความรักของเราทั้งคู่ ตลอดเวลาที่คบกันเป็นแฟน ก็มีความสุขดี เราดูแลเป็นห่วงเป็นใยกัน ไลน์ เฟส คุยกันตลอดจนดึกจนดื่น ไม่เคยเบื่อ แต่พอมีคำว่า “แต่งงาน” เกิดขึ้นมาในสมองเท่านั้น ทำไมกลับรู้สึกว่าต้องมาคิดทบทวนอีกครั้ง ว่าเรารักกันแน่แล้วเหรอ หรือ เราพร้อมแล้วใช่ไม๊ที่จะอยู่ด้วยกันจริงๆในบ้านที่จะมีเราแค่สองคน อยู่ดีดีก็ลังเลซะงั้น ทั้งๆที่ตลอดเวลาก็พยายามหาทางอยู่ด้วยกันมาตลอด
สำหรับใครที่กำลังสับสนหรือลังเลอยู่ เรามาลองสำรวจตัวเองดูว่า จริงๆแล้วเราพร้อมแต่งงานกับใครซักคนหรือยัง จะมีข้อสังเกตอย่างไรว่า นี่แหละเป็นเวลาที่เหมาะสมแล้วกับการก้าวข้ามเรื่องทั้งหมดที่กล่าวมาข้างต้น แล้วแต่งงานกันซักที ข้อสังเกตมีอยู่ไม่กี่ข้อ ที่สามารถนำมาใช้เป็นข้อคิดได้เป็นอย่างดี นั่นก็คือ
- ความอยาก หากเรารู้สึกว่า อยากจะเจอหน้าเค้า อยากอยู่ใกล้ๆ อยากคุย อยากได้ยินเสียง อยากให้เค้าไลน์มาหา อยากไปกินข้าวด้วย อยากๆๆๆ อื่นๆอีกมากมาย ถ้าความอยากนี้เกิดขึ้นอย่างสม่ำเสมอหรือตลอดเวลาที่ว่างจากงานหรือแม้ขณะทำงานในบางครั้งก็ดี โดยความรู้สึกนี้มันมาแบบจัดเต็ม ไม่อิ่มไม่เบื่ออยู่ตลอด และเป็นแบบนี้มาซักระยะเวลาหนึ่งแล้ว คุณอาจตัดสินใจได้ว่าตัวคุณเองพร้อมแล้วกับการใช้ชีวิตร่วมกันกับใครอีกคนหรือยัง
- รายได้ แน่นอนว่าคุณทั้งสองคน ควรมีรายได้เลี้ยงชีพเป็นของตัวเอง เช่นมีงานประจำ หรือธุรกิจส่วนตัว เป็นต้น หากคุณเองไม่มีงานทำ ไม่มีรายได้ ก็ยังไม่ควรคิดที่จะแต่งงาน เพราะการที่จะมีใครซักคนต้องการจะแต่งงานกับคุณเพราะว่ารักคุณมาก พร้อมที่จะรับเลี้ยงดูแลคุณด้วยความจริงใจ โดยไม่สนใจว่าคุณจะมีงานมีรายได้หรือไม่นั้น มันอาจเป็นไปได้ยากซักหน่อย
- เชื่อมั่นและเชื่อใจ ในใจคิดถึงแต่ข้อดีของอีกฝ่าย พร้อมจะเชื่อและให้อภัยเสมอ อะไรเล็กๆน้อยๆก็ไม่ได้สนใจ แฟนเราดีที่สุด ประมาณนั้น เรื่องที่จะทำให้หงุดหงิด หรือถึงขั้นทะเลาะกันแทบจะหาไม่ได้เลย ที่เค้าเรียกกันว่าช่วงโปรโมชั่นนั่นแหละ และช่วงโปรนี้ ไม่ใช่นับเฉพาะวันสองวันหรือเดือนสองเดือน แต่จะต้องเป็นตลอดช่วงเวลาที่คบกันเป็นแฟน โดยที่ยังไม่ได้แต่งงานกัน หากสังเกตว่า ขนาดช่วงโปร ยังหงุดหงิดรำคาญใจกันอยู่บ่อยๆ พยายามปรับตัวก็ทำแล้ว แต่ก็ยังแก้ไม่หายซักที แบบนี้ควรเลิกคิดเรื่องแต่งงานไปได้เลย
- ชีวิตส่วนตัว การดำเนินชีวิตส่วนตัวที่เปลี่ยนไป (ไม่มากก็น้อย) สังเกตดูได้เลยนะครับว่า คู่ที่ตกลงคบกันเป็นแฟนมาซักระยะแล้ว จนมีความรู้สึกว่าคนนี้แหละที่อยากแต่งงานด้วย ชีวิตส่วนตัวของพวกเค้าจะเริ่มเปลี่ยนไปในทางที่ดีและสร้างสรรค์ เพื่อให้คนที่ตนเองชอบหรือรัก เห็นว่าเราเป็นคนดีมีอนาคต อาทิเช่น คนที่ชอบเที่ยวกลางคืน สังสรรค์กับเพื่อนอยู่เสมอๆ มันก็จะลดลงไปเองโดยอัตโนมัติ แต่กลับพยายามพาตนขึ้นมาใช้ชีวิตกับแฟนและเพื่อนๆตอนกลางวันมากขึ้น คู่รักมักเปลี่ยนแปลงตนเองไปในทางที่ดีขึ้นเสมอ โดยที่ไม่ได้ขัดขืนหรือฝืนตัวเองมากจนเกินไป อย่ามาพูดเลยนะครับว่า “จะไปเปลี่ยนทำไม เราเป็นตัวของตัวเองนั่นแหละดีแล้ว ถ้ารับไม่ได้ ก็เลิกกันไป” แบบนี้เค้าเรียกว่า ไม่พร้อมที่จะแต่งงาน ไม่พร้อมที่จะมีใครอีกคนมาอยู่ร่วมกันจริงๆ
แน่นอนว่าอาจมีความคิดเห็นอื่นๆอีกมาก ที่มีผลต่อการตัดสินใจกับการแต่งงาน หลายคนอาจคิดว่า ข้อความเพียงเล็กน้อยข้างต้นนั้น มันไม่จริงเสมอไปหรอก แต่ละคน แต่ละคู่ แต่ละเหตุการณ์ มันมีความซับซ้อนมากกว่านั้น เพียงแค่ข้อสังเกตไม่กี่ข้อ จะมาเป็นตัวชี้วัดเพื่อการตัดสินใจแต่งงาน ซึ่งเป็นหนึ่งในวันสำคัญของชีวิต ได้อย่างไร
ก็อาจจะจริงนะครับ แต่… ถ้าลองคิดดูให้ดี หากเพียงแค่ความจริงทั้ง 4 ข้อด้านบนก็ยังมาให้เห็นไม่ครบ หรือมาแบบฝืนใจตัวเอง บังคับให้ต้องคิดและทำแบบนั้นแล้วล่ะก็ ก็ควรต้องกลับมาคิดให้ดีอย่างถี่ถ้วนอีกครั้งว่า เราพร้อมแล้วจริงๆหรือไม่กับงานแต่งงานที่ใฝ่ฝันไว้
เพราะสิ่งสำคัญที่คุณและแฟนของคุณต้องรู้นั่นคือ
[…] […]