
“ เลี้ยงรุ่น “ คำๆนี้มักเป็นคำคุ้นเคยของบรรดานักเรียนนักศึกษาที่จบใหม่ หรือแม้แต่ที่จบมานานแล้ว หรือกระทั่งชาว สว. ทั้งหลาย ก็ยังนึกถึงคำๆนี้มาตลอด บางคนไปทุกครั้ง บางคนไปบ้างไม่ไปบ้าง แต่ก็มีบางคน ไม่สนใจที่จะไป จากหลากหลายมุมมองและวัตถุประสงค์ของการเลี้ยงรุ่นนี่เอง ที่ทำให้งานแบบนี้ มันไม่ได้เกิดขึ้นจริงกับทุกๆคน คือไม่ใช่ทุกคนนะครับที่จะได้สัมผัสกับงานเลี้ยงรุ่น ทำไมน่ะเหรอ เดี๋ยวผมจะเหลาให้ฟังกัน
เอาแบบเนื้อๆเน้นๆกันเลยนะครับ คือหลักใหญ่ใจความของการเลี้ยงรุ่นนี่ มันสำคัญที่มุมมองครับ
-
บางคนคิดว่าการเลี้ยงรุ่น คือการที่มีโอกาสได้มาพบปะสังสรรค์กันระหว่างเพื่องฝูงที่นานๆจะได้มาเจอกันซักที หลังจากที่แยกย้ายกันไปเมื่อจบการศึกษา มานั่งกิน นั่งดื่ม พูดคุย หัวเราะ ร้องเพลง สนุกสนาน มันก็แค่นั้น เสร็จสรรพก็แยกย้าย บ้านใครบ้านมัน เป็นอันจบ
-
บางคนคิดว่า เลี้ยงรุ่น? จะไปทำไม ไม่เห็นมีอะไร เสียเวลา เสียเงินอีกต่างหาก บางทีจัดกันไกลจากบ้านหน่อย ก็ไม่อยากจะไป เพราะไม่พ้นเรื่องเงินอีกนั่นแหละ ไหนจะค่าน้ำมันรถ ค่าแท็กซี่ ค่าอาหาร และอื่นๆอีกมากมาย มันสิ้นเปลืองโดยใช่เหตุ
-
บางคนไม่อยากไป เพราะไม่มีเงินจริงๆ เพื่อนๆเค้าทำงานกันดีดี เป็นผู้จัดการ มีเงินเดือนแพงๆ บางคนเป็นเจ้าของบริษัท ไอ้เราเป็นลูกจ้างรับเงินเดือนอยู่หมื่นต้น บางคนไม่ถึงหมื่น บางคนยังไม่มีงานเป็นหลักแหล่ง เงินที่มีอยู่ก็ใช้ไม่ถึงสิ้นเดือนด้วยซ้ำ ไม่ไปแหละดีสุดละ คงไม่เป็นไรหรอก แม้ว่าอยากจะไปใจแทบขาดแต่ทำไงได้
-
ข้อนี้สำคัญ บางคน ไปไม่ได้ ไม่ใช่ไม่อยากไป แต่….แต่……แต่ เมียไม่ให้ไป จบนะ !!!